วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559
รีวิว หลีเป๊ะ:ฝ่ามรสุมเที่ยว Koh Lipe ก่อน High Season
รีวิวนี้เป็นรีวิวแรก หลังจากสมัครสมาชิกเว็บพันทิบมาได้5วัน (ก่อนหน้านั้นแว๊บเข้ามาส่องนานหลายปีแล้ว)แต่ครั้งนี้ไปหลีเป๊ะมาเพราะได้ข้อมูลดีดีจากห้องบลูนี้ เลยคิดอยากทำรีวิว เพราะประทับใจกับที่นี่มาก แม้จะเจอกับมรสุมก็ตามแต่หลีเป๊ะก็ยังสวยงามมากใครที่คิดจะไป กำลังตัดสินใจจะไป บอกได้เลยครับว่าไปเถอะที่นี่สวยมากจริงๆทั้งบนบก และใต้นัำ แล้วคุณจะหลงรักทะเลสตูลครับ
ถึง Mountain เช็คอิน จองเรือวันกลับ เสร็จเข้าที่พัก จองDeluex see view ไว้ เราได้ห้อง deluex10ครับ รู้แล้วครับว่าหน้าโลว์ ทำไมค่าห้องถูก กว่าจะถึงคลื่นมันขนาดนี้นี่เอง เปิดมาเจอแบบนี้ครับ
สืบเนื่องจากวันแรกพอมาถึงโทรไปหาลุงแว เพราะจองเรือออกไปดำน้ำ ลุงแกลืมจดคิวเรา(คิวของคุณลุงคงจะแน่นมาก แล้วแกเป็นชาวเลบนเกาะตอนรับงานบางทีอยู่ข้างนอกอาจลืมจด อยากให้ทุกคนที่จองเข้าใจด้วยนะครับ) แต่ให้เพื่อนของลุงมารับไปแทนครับ ชื่อลุง ม๊าด ลุงแกใจดี ยิ้มแย้มแจ่มใส ชวนเราคุยตลอด ลงน้ำก็ลงไปกับเรา คอยหาของแปลกๆให้เราดูคอยชี้จุดปะการัง กัลปังหา ตรงไหนที่ดูว่าไม่ปลอดภัยน้ำแรงลุงจะลงไปก่อน ว่าปลอดภัยไหม?? ลงได้ไหม?? ทำให้เราอุ่นใจครับ ถ้าเราเหมาเรือไปลุงแกไปให้เต็มๆวัน แล้วแต่เวลาเราจะกลับ(แต่ก็ไม่เย็นจนมืดนะคับ)เรือลุงมี2ลำ ลำนี้ของโบสถ์คริสต์ กับอีกลำของญาติลุง
มองด้านบน เห็นคลื่นไม่แรงมาก แต่พอลงมาในเรือ ไม่เบานะครับ ลุงบอกว่าถ้ากลัวคลื่นไปดำหน้าเกาะอาดัง ที่เรือจอดหลบเราไหม ตรงนั้นคลื่นไม่แรง
เสียเที่ยวสิ่ครับ ผมกับแฟนไม่เมาอยู่แล้วเลยไปกันเลย รอบใน เกาะหินงาม
คลื่นใช้ได้เลยครับประมาณ1เมตร
เกาะหินงาม ราดน้ำยังไงหินก็ไม่สะท้อน แดดไม่มีเลยครับ
มีเรือมากันไม่กี่ลำ 4-5ลำได้ บางลำตีกลับกลัวคลื่น ร่องน้ำจาบังลงไม่ได้แน่นอน ลุงเลยพาเราไปเกาะยางครับ
วันที่สาม เมื่อวานบอกลุงว่าอยากไปดำรอบนอกแต่ขอดูอากาศก่อนเพราะอยู่ทั้งหมด4คืน เช้ามาตี5ครึ่งตื่นมาฟ้าครึ้มๆ คิดว่าจบแน่อดไป แต่พอ6โมงเช้ากว่าๆก็เจอแบบนี้ครับ
7โมงกว่าโทรหาลุง ม๊าดทันที กลัวพรุ่งนี้ไม่รู้อากาศเป็นยังไง เรือมารับ9โมงเช้า เพราะกว่าจะถึงเกาะหินซ้อน ตก1.30ขั่วโมงเลย
นั่งเรือไปหลับๆตื่น คลื่นเบาแล้ว เรือประมงที่จอดแอบอยู่ เริ่มออกไปหาปลาแล้ว นั่งไปนานพอสมควร ถึงเกาะหินซ้อนครับ
ลุงวนเรือรอบๆลงไม่ได้คลื่นแรง เลยไปลงด้านหลังเกาะ จุดนี้ลงไปน้ำยังแรงอยู่ แต่มองไม่ค่อยเห็นอะไร เพราะน้ำขึ้นสูง แถมขุ่นๆอีก
ลงไป5นาทีรีบขึ้น ไปต่อกันที่เกาะดง
ปะการังบริเวณเกาะดง ด้านหน้าครับ
ดำอยู่สักเกือบชั่วโมง ไปต่อที่เกาะสุดสวย เกาะรอ-กลอยครับ
เหมาะกับคนที่ชอบนอนอาบแดด เด็กๆเล่นน้ำตื้น แต่ไม่ครับ ผมเน้นดำน้ำอย่างเดียว
ไปต่อกันที่เกาะดงอีกด้านนึง หาดนี้ก่อนถึงอ่าวลิงนะครับ
ใต้น้ำจุดนี้ครับ
ปลาดาว
ไปต่อกันที่เกาะผึ้ง
ลุงลงไปดูก่อนว่าน้ำแรงไหม ลงได้น้ำแรงแต่ไม่มากครับจุดนี้เป็นบริเวณเกือบๆจะสุดทางของเกาะดง เกือบออกไปทะเลเปิด คลื่นจึงค่อนข้างแรง
ลงไป ดงกัลปังหาเลยครับ ปะการังอ่อน ดอกไม้ทะเลเป็นทุ่ง สวยมากๆ
วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ถนนบุรีวาณิช
ถนนบุรีวาณิช ยังคงเป็นตึกเป็นสถาปัตยกรรมยุโรปผสมศิลปะจีน เป็นอาคารร้านค้าเก่าแก่ที่หน้าตึกจะมีช่องโค้ง ต่อกันเป็นระยะ เพื่อเป็นทางเดินทาง ที่เรียกกันว่า "หง่อคาขี่" เป็นภาษาจีนฮกเกี๊ยน ร้านค้าปัจจุบันยังค้าขายข้าวของเครื่องใช้ บ้างก็ปรับเป็นร้านค้าแนวใหม่ บ้างก็ยังคงกิจการดั้งเดิมไว้ ปัจจุบันยังมีอาคารเก่าแก่ที่ยังเป็นสถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกิส เช่นเดียวกับถนนบุรีวานิช ซึ่งรับอิทธิพลจากปีนัง สันนิษฐานกันว่าอาคารเหล่านั้น สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ 2440 - 2445 สำหรับคนที่ชอบสะสมของเก่าสามารถสังเกตุจากตู้โชว์กระจก ที่ทำด้วยไม้มีสินค้าสารพัดเรียงรายโชว์อยู่เป็นแนวสโตร์เล็กๆ ทำให้เรานึกถึงภาพในอดีตที่เต็มไปด้วยผู้คนต่างมาจับจ่ายค้าขายกันที่ถนนสายนี้
ป้ายกำกับ:
ตึกโบราณ,
ถนนคนเดิน,
ถนนบุรีวาณิช,
ท่องเที่ยว,
สตูล,
Festival and Event,
Satun,
Traval
ตำแหน่ง:
จังหวัด สตูล ประเทศไทย
วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556
ธนาคารกั้ง
ธนาคารกั้งชุมชน บ้านบากันเคย ต.ตันหยงโป อ.เมือง จ.สตูล ถือได้ว่าเป็นธนาคารกั้งแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีชื่อเสียงมาได้ประมาณ 1 ปี จนเป็นแหล่งฝึกงานของนักศึกษาจากหลายสถาบัน เป็นที่ศึกษาดูงานของเยาวชนและผู้ใหญ่ทั้งคนไทยและฝรั่ง เป็นที่ถ่ายทำสารคดี”ทุ่งแสงตะวัน” และวารสารอีกหลายเล่ม ผู้เขียนในฐานะเป็นคนทำงานกับชุมชนในพื้นที่
ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารกั้งชุมชน บ้านบากันเคย ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลตันหยงโป อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวประมงขนาดเล็ก ชายฝั่งทะเลอันดามัน ติดชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าชายเลนที่ยังคงความสมบูรณ์ ชายฝั่งมีลักษณะเป็นโคลนเลนไม่มีหาดทราย มีประมาณ 100 หลังคาเรือน ประชากรประมาณ 600 คน ทั้งหมดเป็นมุสลิม
ป้ายกำกับ:
กั้ง,
ตันหยงโป,
เที่ยวสตูล,
ธนาคาร,
บ้านบากันเคย
วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555
กบว้ากใหญ่ (หมาในน้ำ)
กบในธรรมชาติทั่วไปเเล้วจะร้อง “อ๊บ อ๊บ” เเต่กบที่อุทยานแห่งชาติทะเลบัน จังหวัดสตูล ร้องไม่เหมือนกบทั่วไปกลับร้องคล้ายลูกหมา(ลูกสุนัข) ไปงั้นได้ไง กบที่พุดถึงคือกบ "กบว้ากใหญ่" มาเป็นจุดเด่นของอุทยานฯ ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวไปหาดูตัวมัน ในฐานะ “หมาน้ำ” ด้วยน้ำเสียงที่ว่ากันว่า คล้ายกับเสียงร้องของลูกหมา
“หมาน้ำ” ชนิดนี้ มีขนาดลำตัว 60-95 มิลลิเมตร (ความยาวของลำตัวสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก พวกกบ เขียด ปาด ฯลฯ วัดจากปากถึงก้น) ลำตัวสีเทาอมม่วง มีจุดแต้มสีเทาดำหรือเหลือง ขอบปากมีจุดสีเข้ม ตาสีแดงส้ม ผิวตามตัวด้านบนมีตุ่มกลม ข้างลำตัวมีต่อมใหญ่ นอกจากเสียงมันที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว หน้าตาสีสันของมันก็ไม่เหมือนใคร จดจำได้ไม่ยากนัก
ส่วนปลายนิ้วตีนของมัน แผ่ออกเป็นแผ่นใหญ่ ระหว่างนิ้วตีนหลัง มีแผ่นหนังยึดเต็มความยาวนิ้วตีน--หลายคนอาจสงสัย ว่าจะดูอะไรมันละเอียดจนถึงบาทาของมัน จริงๆ แล้ว นิ้วตีนของสัตว์กลุ่มนี้ มีความน่าสนใจและบอกถึงแหล่งที่อยู่ของมันได้เป็นอย่างดี เช่น ปาด (F. Rhacophoridae) พวกมันมีแผ่นหนังยื่นออกมารอบปลายนิ้ว มองดูคล้ายนิ้วตีนติดแผ่นดิสก์ แท้จริงแล้ว แผ่นหนังที่นิ้วตีนกลมๆ นี้ ช่วยให้พวกมันปีนป่ายตามต้นไม้ได้เป็นอย่างดี เราจึงพบพวกปาดเกาะแปะตามผนังห้องน้ำหรือต้นไม้ได้เหนียวแน่นทีเดียว หรือ กลุ่มกบลายหิน (Amolops sp.) พวกนี้ ก็มีแผ่นกลมที่ปลายนิ้วเช่นเดียวกับกลุ่มปาด แต่ไม่ใช่ว่ามันก็อยู่อาศัยปีนป่ายบนต้นไม้เหมือนกัน แต่เพราะกบลายหินทั้งหลาย อาศัยหากินบริเวณแก่งหินที่น้ำไหลเชียวในบริเวณลำธาร มันก็เลยพัฒนา "แผ่นดิสก์" มาติดที่ปลายนิ้วเช่นเดียวกัน
นอกจากอุทยานแห่งชาติทะเลบันแล้ว เราสามารถพบกบชนิดนี้ได้ทั่วไป ในภาคใต้ตอนล่าง บริเวณใกล้หนองน้ำ หรือลำธารที่น้ำไหลไม่แรงนัก ตลอดจนสวนยางที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ดังกล่าว รวมถึงในป่าพรุหรือแหล่งน้ำนิ่ง เช่น อ่างเก็บน้ำในป่าดิบชื้น เป็นต้น
แต่การทำลาย "บ้าน" ซึ่งคือป่าพรุหรือป่าดิบชื้นที่พวกมันอาศัยอยู่ การแผ้วถางเปลี่ยนพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ทำให้พื้นที่อาศัยลดลงหรือหายไป แล้วการใช้สารเคมีในการเกษตร ทำให้จำนวนประชากรของกบว้าก และกบหลายชนิดลดลงหรืออาจสูญพันธุ์ในที่สุด
ป้ายกำกับ:
กบ,
กบว้ากใหญ่,
หมาน้ำ,
frog,
National park,
Satun,
Thale Bun
วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555
Satun National Museum – Kuden Mansion พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูล (คฤหาสน์กูเด็น)
Is located on
Satun Thani Road, Soi 5, opposite the Satun Provincial Land O"ce.
Construction was started in
1898 and completed in 1916 by Phraya Phumnatphakdi or Tunku Baharutdin Bin
Tammahong (formerly Kuden
Binkumae), the ruler of Satun, during the reign of King Rama V.
The mansion was
intended to be a royal residence during a royal visit of King Rama V to the
South. However, the king did not stay overnight here. The building was later
used as an o"cial residence and as the Satun Town Hall. Until World War II
in around 1941, the building was occupied by Japanese soldiers as their command
unit. It was also used asthe Satun City Hall and other important o"cial
places. During 1997 – 2000, the Fine Arts Department renovated the Kuden
Mansion into a western two-storey brick building. Curved doors and windows are
in the European architectural style of art. Its Thai-styled hip-roof is covered
with Spanish terra cotta roof tiles.
Window panels consist of wooden shutters.
The top of the pediment is adorned with a star-shaped vent in accordance with
Islamic architecture. Inside, there are displays of history of Satun town and ways
of life of the people of Satun, such as the sea dwellers of Ko Li Pe, pot
making, a room of the ruler of Satun’s residence, a room of the Thai Muslim
culture depicting arts, culture, traditions, local lifestyles, etc.
The museum is open
on Wednesdays to Sundays from 09.00 a.m. – 04.00 p.m. It is closed on Mondays, Tuesdays, and
public holidays. Admission fee is 50 Baht. Tel. 0 7472 3140.
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555
Satun Central Mosque or Mambang Mosque(มัสยิดมำบัง)
Satun Central Mosque or Mambang Mosque is located on the corner of Buri Wanit Road and Satun Thani Road in the heart of town. It is a place for religious services. The mosque is
in a modern style of architecture. Its white building is decorated with glazed tiles, marble, and glass. The building is divided into two parts. The outer part features a verandah with a !ight up to a dome-tipped tower. At the top, a view of the town of Satun can be seen. The inner part is shaped as a large hall for praying with an underground chamber.
มัสยิดมำบัง(มัสยิดกลางจังหวัดสตูล) ตั้งอยู่บริเวณมุมถนนบุรีวานิชและถนนสตูลธานี กลางเมืองสตูล เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตนกูมูฮำหมัดอาเก็ม) เป็นเจ้าเมืองสตูล (ประมาณ พ.ศ. 2539) ชื่อมำบังตั้งตามชื่อเมืองสตูลในสมัยนั้นต่อมาในปี พ.ศ. 2517 ได้จัดสร้างลักษณะรูปทรงมัสยิดเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ตัวอาคารสีขาวตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบหินอ่อนและกระจกใส ตัวอาคารแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนนอกเป็นระเบียง มีบันไดขึ้นหอคอย ลักษณะเป็นยอดโดม สามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองสตูลได้ ส่วนในเป็นห้องโถงใหญ่ใช้เป็นที่ละหมาด ชั้นล่างมีห้องใต้ดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จทรงเปิดเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2525
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555
อุทยานเเห่งชาติทะเลบัน
THALE BAN NATIONAL PARK
A large fresh water area covering 200 rais, is populated with a species of plant known to the locals as "Bakong" giving a striking natural atmosphere to the place. There is also a pavilion for visitors to relax and admire the beauty of the swamp. It is believed that the name Thale Ban is derived from "Lerd Reban" in Malay, meaning the "subsided lake". According to local legend, from about 300 years ago, the present Thale Ban was the site juxtaposed between two mountains namely Khao Jeen and Khao Moddaeng. It was a fertile farming area for villagers who engaged in cash crops and fruit orchards. Later a strong, continuous quake had hit the area for months and the site caved in and became a large pool of water, which later became Thale Ban Swamp.ทะเลบัน ทะเลบันเป็นบึงน้ำขนาดใหญ่กลางหุบเขา ขนาบด้วยเทือกเขาจีนและเขาวังประ มีเนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ มีปลาน้ำจืดและหอยชุกชุม น้ำใสสะอาดจนสามารถมองเห็นสาหร่ายและฝูงปลาว่ายไปมา บางครั้งจะมีสมเสร็จลงมากินน้ำเป็นภาพที่น่าประทับใจ รอบบึงมีพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งขึ้นอยู่หนาแน่น ชาวบ้านเรียกว่า "ต้นบากง" ทางอุทยานฯ ได้สร้างศาลาท่าน้ำไว้ให้นักท่องเที่ยวได้นั่งพักผ่อนด้วย
คำว่า "ทะเลบัน" มาจากคำว่า "เลิด เรอบัน" เป็นภาษามลายูแปลว่า ทะเลยุบหรือทะเลอันเกิดจากการยุบตัวของแผ่นดิน อุทยานแห่งชาติทะเลบันเกิดจากการยุบตัวของพื้นดินระหว่างเขาจีนและเขามดแดง เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่มีเนื้อที่ประมาณ 63,350 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูง จึงอุดมไปด้วยพืชพรรณป่าไม้ที่ขึ้นอย่างหนาแน่น และรอบๆ บึงจะมีพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งชื่อต้น "บากง" ขึ้นอยู่หนาแน่นแลดูสวยงาม
How to get to Thale Ban Swamp
Thale Ban National Park is located in Village No.11, Tambon Khuan Satore, Amphoe Khuan Don, approximately 30 kilometers from the town of Satun. It can be reached by following Highway No . 406 ( Satun - Hatyai ) from Amphoe Muang until reaching Kilometer 19, take a right turn onto Highway No. 4184 (Khuan Satore-Wang Prachan) for approximately 20 kilometers. From Haad Yai, visitors can take a public bus (Hat Yai-Satun) or a taxi, which will take about 80 kilometers. Get off at Khuan Satore T - intersection and board a minibus to the Park.
Facilities
Thirteen cottages can accommodate 170 visitors to the park. The rates for the accommodation range from 5 0 0 - 1, 0 0 0 baht/cottage/night. There is a camping site ( campers must bring their own camping gear ), and facilities include lamps for camping, a multi-purpose pavilion, and visitors' service center.
For more information, please contact:-
1. National Park Division , Forestry Department, Tel:(02) 5797223 and 5797734 or 5614922 ext 724-5
2. Thale Ban National Park Office, Amphoe Khuan Don, Satun Province, Tel: (074) 797073.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)